งานกราฟิก
มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด
จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์
จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้
เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้
ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์
ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก ต่อมาประมาณ
9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerienในแคว้นเมโสโปเตเมีย
ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และ
ตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์
งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี
ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง
ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical
Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส
ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์
มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม
มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่
2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง
ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น
ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน
เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้
วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft
Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ
จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe
Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D
Studio / LightWave3D / AutoCadฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead
Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก
จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ
การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว
แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์
หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี
บทบาทและความสำคัญของกราฟิก
บทบาท
งานกราฟิกต่าง ๆ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อเป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้
การศึกษา ความเข้าใจ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือ
ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา ประสิทธิภาพของการคิด การบันทึกและการจำ ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น
ความเป็นโลกไร้พรมแดน ความแตกต่างระหว่างบุคคล สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น
ความสำคัญ
1.ใช้เป็นสื่อประกอบการสอน
1.ใช้เป็นสื่อประกอบการสอน
2. ช่วยให้ผู้คนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด
ทำให้ประหยัดเวลา
3. ทำให้ผู้คนเกิดความสนใจ
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6.ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7.ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้าง
ความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
ความหมายของกราฟิก
กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก 2 คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า “กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector) เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand
3. คลิปอาร์ต (Clipart) เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลั งภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)
คอมพิวเตอร์กราฟฟิก
........คอมพิวเตอร์กราฟฟิก หมายถึง การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น
........ภาพกราฟิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-กราฟิกแบบ 2 มิติ เป็นภาพที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย รูปวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
-กราฟิกแบบ 3 มิติ เป็นภาพกราฟิกที่ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3 มิติโดยเฉพาะ เช่น โปรแกรม 3Ds Max โปรแกรม Maya เป็นต้น
ประเภทของภาพกราฟิก
ภาพราสเตอร์ (Raster )
หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้
เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี
ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels) ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย
เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง
ตัวอย่าง
- ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150
Pixe
- ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
- ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร
โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
ข้อดีของภาพชนิด Raster
- สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
- ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raste
นามสกุลที่ใช้เก็บ
|
ลักษณะงาน
|
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
|
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
|
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ
และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
|
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro ,
Illustrator
|
.TIFF , TIF
|
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร
เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
|
|
.BMP , DIB
|
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
|
โปรแกรม PaintShopPro ,
Illustrator
|
2. ภาพแบบ Vector
เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง
เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง
แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
ข้อดีของภาพชนิด Vector
- นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง
ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน
โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
- โปรแกรม Illustrator
-
CorelDraw
-
AutoCAD
- 3Ds
max ฯลฯ
นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector
นามสกุลที่ใช้เก็บ
|
ลักษณะงาน
|
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
|
.AI,.EPS
|
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก
เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
|
โปรแกรม Illustrator
|
.WMF
|
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
|
โปรแกรม CorelDraw
|
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก
หลักการทำงาน
หลักการทำงานของภาพกราฟฟิก
คือ ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย
สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน
ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี
เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ
แบบ Raster กับ Vector
หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ว่าพิกเซล (Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง
ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย
เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ
หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
ดังนั้นการกำหนดพิกเซลจึงควรกำหนดจำนวนพิกเซลให้เหมาะกับงานที่สร้าง
หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์
หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน
โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง
เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน
และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้
การสร้างการ์ตูน เป็นต้น
การแสดงผลของภาพกราฟฟิก
2.1 การสร้างภาพแบบเวกเตอร์
|
การสร้างภาพภาพแบบเวกเตอร์หรือสโตรก
(Stroked display) เป็นการสร้างภาพบนจอภาพแบบเวกเตอร์
โดยการสร้างคำสั่งเพื่อลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ
ตามที่กำหนดไว้ให้เป็นรูปภาพที่ต้องการ
ซึ่งข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์ภาพเวกเตอร์มีลักษณะเป็นชุดคำสั่ง
คล้ายภาษาโปรแกรมหรือสมการทางคณิตศาสตร์ โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมเพื่อบอกสี ขนาด
หรือตำแหน่ง เช่นการสร้างรูปสามเหลี่ยม ก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นเส้นลากผ่านจุดต่าง
ๆ ทำให้เกิดรูปโครงร่างโดยรอบขึ้นมา
พร้อมทั้งสามารถกำหนดสีของพื้นในโครงร่างนั้นได้
2.2 การสร้างภาพแบบบิตแมป
|
เป็นการสร้างภาพภายในประกอบด้วยจุดภาพเล็ก
ๆ เรียกว่าพิกเซล (pixel) การกำหนดตำแหน่งพิกเซลต่าง ๆ
บนจอภาพบอกขนาดความกว้างยาวของรูปภาพ เพื่อให้เกิดภาพที่ต้องการ
ซึ่งจะทำให้พิกเซลที่กำหนดเกิดการเรืองแสงเป็นรูปภาพ
โดยระบบการแสดงผลของภาพ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผล
จะมีระบบการแสดงผลอยู่ 2 โหมดคือเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด
1. เท็กซ์โหมด
|
|
เป็นระบบการแสดงผลพื้นฐานของจอภาพ
ซึ่งแสดงผลในรูปของตัวอักษรหรือข้อความเท่านั้น
ตัวอักษรที่ใช้แสดงจะมีการกำหนดรูปแบบหรือขนาดที่แน่นอนไว้แล้วในส่วนของ Character
Generation ของการ์ดแสดงผล ดังนั้นจึงไม่สามารถแสดงผลที่เป็นรูปภาพต่าง ๆ ได้
ขนาดของการแสดงผลในเท็กซ์โหมด คือ แสดงผลของตัวอักษรมีจำนวน 25 แถว
แต่ละแถวสามารถแสดงตัวอักษรได้ 80 ตัว
2. กราฟฟิกส์โหมด
|
|
เป็นระบบการแสดงผลแบบรูปภาพ
โดยใช้การ์ดแสดงผลในการควบคุมการแสดงรูปภาพให้อยู่ในลักษณะของพิกเซล
ซึ่งรูปภาพที่ใช้ในการแสดงผลนี้ จะอยู่ในรูปของตัวอักษร
ข้อความหรือรูปภาพโดยการควบคุมตำแหน่งของพิกเซลให้แสดงผลได้ตามที่ต้องการDisplay
buffer เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำ RAM (Read Access
Memory) ขนาด 16 K-byte มีตำแหน่งเริ่มต้นที่ &HB800 สามารถติดต่อกับหน่วยความจำได้ 2 วิธี โดยผ่าน CPU และ Graphics
control unit ข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์บัฟเฟอร์จะถูกอ่านออกมา
และผ่านการตีความหมายพร้อมแสดงผล
ข้อแตกต่างเบื้องต้นของเท็กซ์โหมดกับกราฟฟิกส์โหมด
คือข้อมูลที่เก็บในดิสเพลย์จะถูกแปลความหมายของข้อมูลแล้ว
เมื่อต้องการสร้างภาพกราฟฟิกส์
จะต้องให้ภาพกราฟฟิกส์นั้นปรากฏบนจอภาพทันที
ภาพที่ปรากฏบนจอภาพนั้นจะมีลักษณะเป็นภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหวก็ได้
การควบคุมการแสดงกราฟฟิกส์แบบทั่ว ๆ
พิจารณาได้ดังนี้การแสดงผลด้วยจอภาพแบบราสเตอร์
จะใช้หน่วยความจำทำการควบคุมตำแหน่งพิกเซลบนจอภาพ หน่วยความจำที่ใช้ในการแสดงผลเรียกว่าบิตแพลน
(Bit plane) โดยหน่วยความจำขนาด 1 บิตสามารถควบคุมการแสดงผลของพิกเซลได้ 1 จุด
ดังนั้นถ้าจอภาพมีจำนวนพิกเซล n จุด จะต้องใช้หน่วยความจำควบคุมการทำงานจำนวน n บิต
และ
การแสดงผลบนจอภาพสี จะต้องใช้หน่วยความจำทั้งหมดคือ 640 x480 x 3 =
921600 บิต หรือเท่ากับ 921600/8 = 115200ไบต์
ซึ่งประกอบด้วยเฟรมบัฟเฟอร์ที่ใช้ในการแสดงสี 3 สี คือสีแดง
สีเขียวและสีน้ำเงิน และจอภาพต้องมีปืนยิงลำแสงอิเล็กตรอน 3 สี
เพื่อทำการผสมสีให้เกิดเป็นสีต่าง ๆ
สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก
1.) RGB :
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี
3 สี คือ สีแดง สีเขียวและสีน้ำเงิน
เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีได้มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ
ถ้าสีมีความเข้มมากเมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive
หรือการผสมสีแบบบวก
2.CMYK: ประกอบด้วยสีหลัก
4 สีคือ สีฟ้า , สีม่วงแดง , สีเหลือง
และสีดำ
เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์
จึงเป็นการผสมสีแบบลด หลักการเกิดสีของระบบนี้ คือ
หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งและสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ
3.) HSB: เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
-> Hue คือ สีต่าง ๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา
-> Saturation คือ ความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0
ถึง
100 แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
-> Brightness คือ ระดับความสว่างขอสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่
0 ถึง 100
4.) LAB: เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด
ๆ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
-> A เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง
-> B เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปเหลือง
ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ คือ
1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ ,GIF89A ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอในลักษณะภาพเคลื่อนไหว
1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ ,GIF89A ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอในลักษณะภาพเคลื่อนไหว
2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน
Internet ใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก
จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต
เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
จุดด้อย ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
จุดด้อย ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์
3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้
มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียด สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย
ไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ
1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution
Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution
หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป
หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ
ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit คือสีสมจริง
ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit คือสีสมจริง
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP,
.PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ Paintbrush,
PhotoShop, Photostyler
2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap
2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ
ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น
โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง
ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
Bitmap
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Objectต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Objectต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า
กราฟิกคอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้งานด้านการออกแบบ
ซึ่งเมื่อเห็นคำว่า “การออกแบบ”แน่นอนสำหรับคนที่ต้องการคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานด้านนี้ย่อมคิดถึงคำว่า CAD(Computer
Aided Design)หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยในการออกแบบ ในงานทางด้านวิศวกรรม
ประกอบไปด้วย DWG หรือ ภาพประกอบ 2 มิติ (2D) เป็นพื้นฐานหลัก
โดยจะต้องทำความเข้าใจในส่วนประกอบดังนี้
1. DWG
(DRAWING) ภาพ - 2D (ภาพ 2 มิติ) 3D (ภาพ 3 มิติ)
2. MODELING
COMMAND
Wire
Frame Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
Surface
and Solid Command (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่)
Other
Edit (ตามมาตรฐานที่ใช้อ้างอิงกับ Software ส่วนใหญ่) Cad/Cam
3.
การใช้คำสั่งประกอบการปฏิบัติงานจริง
ทำความเข้าใจกับลำดับขั้นตอน
การจัดการของ 2D และ 3D การตัดสินใจเลือก Surface
Command และ Solid Command การประยุกต์การทำงาน
ให้เข้ากับบุคลิกส่วนตัว Concept
“CAD”(Computer-Aided
Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม
ซึ่งจะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
เมื่อต้องการแก้ไขก็สามารถทำได้ง่ายกว่าการทำงานในกระดาษ คือ
สามารถออกแบบเป็นลายเส้น แล้วลงสี แสง เงา เพื่อให้ดูคล้ายของจริงได้ นอกจากนี้
ยังสามารถย่อ/ขยาย หรือหมุนให้เห็นในมุมมองต่าง ๆ ที่ต้องการได้
ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
ได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่าง ๆ โดยใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ
ที่ระบบมีให้แล้วทำการประกอบเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข ตัดต่อ
เพิ่มเติมวงจรได้
การออกแบบพาหนะต่าง ๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่าง ๆ
นักออกแบบจะใช้ CAD ออกแบบส่วนย่อย ๆ แต่ละส่วนก่อน
แล้วจึงประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางระบบสามารถทดสอบแบบจำลองที่ออกแบบไว้ เช่น
การออกแบบรถยนต์ แล้วนำโครงสร้างของรถที่ออกแบบมาจำลองการวิ่ง
โดยให้วิ่งที่ความเร็วต่าง ๆ แล้วเก็บผลมาตรวจสอบค่า
ซึ่งทำให้ประหยัดกว่าการสร้างรถจริง ๆ
การออกแบบโครงสร้าง
เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใด ๆ ทางวิศวกรรมโยธา และสถาปัตยกรรม
ก็สามารถทำได้โดยใช้ CADหลักจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างในแบบ 2
มิติเสร็จแล้ว ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3 มิติ
และแสดงภาพในมุมมองต่าง ๆ ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ
ตัวอย่างสิ่งที่ได้จากการประยุกต์งานกราฟิก
กราฟิก คำนี้คงได้ยินกันอย่างแพร่หลาย
เนื่องจากเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเราอย่างมาก หันไปทางไหนก็เจอแต่กราฟิก
ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ โลโก้ กระดาษ แผ่นพับ โฆษณา เป็นต้น
คำว่ากราฟิกมีที่มาจากคำในภาษากรีก คือ Graphikos ที่แปลว่า
"การวาดเขียน และเขียนภาพ" หรือคำว่า "Graphein" ที่แปลว่า
"การเขียน" ซึ่งมีผู้ให้นิยามไว้หลายลักษณะ เช่น
•ศิลปะอย่างหนึ่ง ที่แสดงออกด้วยความคิดอ่าน โดยใช้เส้น รูปภาพ
ภาพเขียน ไดอะแกรม และอื่นๆ
•การสื่อความหมายด้วยการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ ภาพถ่าย และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะ
และศาสตร์ เข้ามาช่วย เพื่อให้ผู้ดูเกิดความคิด
และตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้สร้างสรรค์ต้องการสื่อ เช่น แผนภูมิ แผนภาพ โฆษณา
การ์ตูน เป็นต้น
•โสตทัศนวัตถุที่ผลิตขึ้นเพื่อแสดงสัญลักษณ์
หรือความหมายของสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทำให้คนได้มองเห็นความจริง หรือความคิดอันถูกต้องชัดเจนจากวัสดุกราฟิกนั้นๆ
•การพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ
จะเห็นว่ากราฟิกมีความหมายกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม
กราฟิกก็คือรูปแบบการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ใช้ศิลปะมาเกี่ยวข้อง
เพื่อสร้างสัญลักษณ์ ที่เข้าใจได้ง่าย และตรงกันระหว่างผู้สื่อสารกับผู้รับสารในปัจจุบันไม่ว่าเราจะหันมองทางไหน
รอบตัวเราเต็มไปด้วยงานออกแบบกราฟิก ไม่ว่าจะเป็นถุงใส่ของ ปกซีดี ปฏิทินตั้งโต๊ะ
หน้าจอคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ กระทั่งผนัง ของอาคารร้านค้าบางแห่ง
ชีวิตเราถูกผสมผสานเข้ากับงานกราฟิกจนแทบจะไม่รู้สึก
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการศึกษา
คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการศึกษา มีอยู่ด้วยกันดังนี้
1. ใช้เป็นสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (E-Learning) กล่าวคือ
สามารถเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทางสัญญาณโทรทัศน์
หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ
อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer
Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์
(On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
2. จัดระบบการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้ลักษณะรูปแบบ VDO
Conference สามารถเรียนรู้จากคนละที่ได้
มีการตอบข้อซักถามอย่างทันท่วงทีได้การประชุมกันโดยมองเห็นกันด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร
โดยไม่ต้องมาพบกันจริงๆ จะเห็นได้ว่าประหยัดและได้ประโยชน์อย่างยิ่งเป็นการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถได้อย่างกว้างขวาง
3. รูปแบบการเรียนโดยใช้สื่อ CAI หรือ "Computer
Aided Instruction" หรือบางแหล่งอาจจะใช้คำว่า "Computer Assisted
Insturction"โดยมีการใช้คำในภาษาไทยว่า "สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน"
เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยนำเอาสื่อคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการนำเสนอเนื้อหา
เรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ซึ่งก็คือ
สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
4. การสร้างผลงานต่าง ๆ ในแบบวิดีโอ วิดิทัศน์
เพื่อนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5. การฝึกการเรียนรู้ในรูปแบบเกมส์ เกมส์ออนไลน์ เป็นการฝึกสร้างทักษะ
ฝึกสมองและสติปัญญาให้กับเยาวชน ได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ
1. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับการออกแบบ
คอมพิวเตอร์กราฟิกได้ถูกนำมาใช้ในการออกแบบมาเป็นเวลานาน เราคงจะเคยได้ยินคำว่าCAD
(Computer - Aided Design) ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับช่วยในการออกแบบทางวิศวกรรม
โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบหรือวิศวกรออกแบบงานต่างๆ ได้สะดวกขึ้น กล่าวคือ
ผู้ออกแบบสามารถเขียนเป็นแบบลายเส้นแล้วลงสี แสงเงา เพื่อให้ดูคล้ายกับของจริงได้
นอกจากนี้แล้วเมื่อผู้ออกแบบกำหนดขนาดของวัตถุลงในระบบ CAD แล้ว
ผู้ออกแบบยังสามารถย่อหรือขยายภาพนั้น หรือต้องการหมุนภาพไปในมุมต่างๆ ได้ด้วย
การแก้ไขแบบก็ทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการออกแบบบนกระดาษ
2. ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้ในการออกแบบวงจรต่างๆ
ผู้ออกแบบสามารถวาดวงจรบนจอภาพโดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
ที่ระบบจัดเตรียมไว้ให้แล้วมาประกอบกันเป็นวงจรที่ต้องการ ผู้ออกแบบสามารถแก้ไข
ตัดต่อ เพิ่มเติมวงจรได้โดยสะดวก
3. การออกแบบพาหนะต่างๆ เช่น รถยนต์ เครื่องบิน หรือเครื่องจักรต่างๆ
ในปัจจุบันก็ใช้ระบบ CAD นักออกแบบสามารถจะออกแบบส่วนย่อยๆ แต่ละส่วนก่อน
แล้วนำมาประกอบกันเป็นส่วนใหญ่ขึ้นจนเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ที่ต้องการได้
แล้วนำออกมาศึกษาทดสอบการวิ่ง
4. การออกแบบโครงสร้างอาคาร เช่น ตึก บ้าน สะพาน หรือโครงสร้างใดๆ
ทางวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม ก็สามารถทำได้โดยใช้ CAD ช่วยในการออกแบบ
หลังจากสถาปนิกออกแบบโครงสร้างในแบบ 2 มิติเสร็จแล้ว
ระบบ CAD สามารถจัดการให้เป็นภาพ 3มิติ และยังสามารถแสดงภาพที่มุมมองต่างๆ
กันได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ
นอกจากนี้ในบางระบบสามารถแสดงภาพให้ปรากฏต่อผู้ออกแบบราวกับว่าผู้ออกแบบสามารถเดินเข้าไปภายในอาคารที่ออกแบบได้ด้วย
5. กราฟและภาพ
โปรแกรมทางกราฟิกทั่วไปในท้องตลาดจะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพกราฟและแผนภาพ
โปรแกรมเหล่านี้ยังสามารถสร้างกราฟได้หลายแบบ เช่น กราฟเส้น กราฟแท่ง และกราฟวงกลม
นอกจากนี้ยังสามารถแสดงภาพกราฟได้ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ
ทำให้ภาพกราฟที่ได้ดูดีและน่าสนใจ กราฟและแผนภาพทางธุรกิจ เช่น
กราฟหรือแผนภาพแสดงการเงิน สถิติ และข้อมูลทางเศรษฐกิจ
จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารหรือผู้จัดการกิจการมาก
6. ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS (Geographical
Information System) ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จะถูกเก็บลงในระบบคอมพิวเตอร์
แล้วให้ระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกจัดการแสดงข้อมูลเหล่านั้นออกมาทางจอภาพในรูปของแผนที่ทางภูมิศาสตร์
7. ภาพศิลป์โดยคอมพิวเตอร์กราฟิก
การวาดภาพในปัจจุบันนี้ใครๆ ก็สามารถวาดได้แล้วโดยไม่ต้องใช้พู่กันกับจานสี
แต่จะใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกแทน
ภาพที่วาดในระบบคอมพิวเตอร์กราฟิกนี้เราสามารถกำหนดสี แสงเงา
รูปแบบลายเส้นที่ต้องการได้โดยง่าย ข้อดีของการใช้คอมพิวเตอร์วาดภาพก็คือ
เราสามารถแก้ไขเพิ่มเติมส่วนที่ต้องการได้ง่าย
8. ภาพเคลื่อนไหวโดยใช้คอมพิวเตอร์
ภาพยนตร์การ์ตูนและภาพยนต์ประเภทนิยายวิทยาศาสตร์หรือภาพยนตร์ที่ใช้เทคนิคพิเศษต่างๆ
ในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการออกแบบและสร้างภาพเคลื่อนไหว (Computer
Animation) มากขึ้น เนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว และง่ายกว่าวิธีอื่นๆ
นอกจากนี้ภาพที่ได้ยังดูสมจริงมากขึ้น
การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกช่วยให้ภาพที่อยู่ในจินตนาการของมนุษย์ออกมาทำให้ปรากฏเป็นจริงได้
ภาพเคลื่อนไหวมีประโยชน์มากทั้งในระบบการศึกษา การอบรม การวิจัย
และการจำลองการทำงาน เช่น จำลองการขับรถ การขับเครื่องบิน เป็นต้น
เกมส์คอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมส์ก็ใช้หลักการทำภาพเคลื่อนไหนในคอมพิวเตอร์กราฟิกเช่นกัน
9. อิเมจโปรเซสซิงก์ (Image
Processing) หมายถึง การแสดงภาพที่เกิดจากการถ่ายรูปหรือจากการสแกนภาพให้ปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์
เทคนิคของอิเมจโปเซสซิงก์สามารถประยุกต์ใช้กับการแพทย์ได้
ภาพยนตร์กับคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความสำเร็จในการพัฒนาการแสดงผลเป็นภาพสี ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70 ทำให้คอมพิวเตอร์กราฟิกกลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการพัฒนาสื่อประเภทอื่นโดยเฉพาะการสร้างเป็นภาพยนตร์
รวมทั้งนำมาใช้สร้าง Special Effect ในระยะแรกๆ
ภาพเคลื่อนไหวคอมพิวเตอร์กราฟิกถูกนำมาใช้กับโครงการอวกาศก่อน เช่น
โครงการวอยเอจเจอร์ (Voyager) ของนาซ่าในปลายทศวรรษที่ 70 ภาพเคลื่อนไหวของโครงการนี้ได้จุดประกายความคิดในการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้เป็นเครื่องมือ
เพื่อแสดงให้เห็นการเดินทางของยานวอยเอจเจอร์ที่โคจรผ่านดาวเสาร์และดาวพฤหัสในระยะใกล้ด้วยความเร็วสูงโดยใช้เวลาจริง 20 ชั่วโมง
แต่ภาพที่ปรากฏออกมาในเบื้องต้นไม่เหมาะสมแก่การเผยแพร่นัก
เนื่องจากตำแหน่งที่วอยเอจเจอร์บันทึกภาพอยู่หางจากดวงอาทิตย์มาก
และเมื่อวอยเอจเจอร์โคจรผ่ายดาวเสาร์ไปทำให้ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไปปรากฎอยู่ด้านหลังดาวเคราะห์
ภาพดาวเสาร์จึงแสดงให้เห็นเงามืดเสียเป็นส่วนใหญ่
แต่เนื่องจากสัญญาณที่วอยเอจเจอร์ส่งกลับมายังโลกเป็นข้อมูลดิจิตอล
ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับแต่งสีให้เหมาะกับการนำเสนอทางโทรทัศน์
จึงทำให้ได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนยิ่งขึ้น
ความสำเร็จจากภาพยนตร์เรื่องสตาร์วอร์ (Star War) ในปี ค.ศ. 1979 ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้สร้างเทคนิคพิเศษหลายด้าน
โดยเฉพาะเทคนิคควบคุมการเคลื่อนกล้องด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์เล็งเห็นความสำคัญของการนำคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้
ในปี ค.ศ. 1984 บริษัท พิคซาร์ สหรัฐอเมริกา โดย John
Lasseter ผู้เป็นทั้งศิลปิน นักโปรแกรมและนักวิจัยคอมพิวเตอร์
ได้ผสมผสานศาสตร์ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันโดยสร้างภาพยนตร์เรื่องสั้นคอมพิวเตอร์กราฟิกที่นำออกฉาย
จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1991 บริษัทพิคซาร์และวอลดิสนีย์ได้ร่วมกันสร้างภาพยนตร์คอมพิวเตอร์กราฟิกเรื่องยาวเป็นเรื่องแรก
คือ ทอยสตอรี (Toy Story) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคอมพิวเตอร์กราฟิกมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการใช้สร้างภาพยนตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ซึ่งภายหลังได้มีการผลิตภาพยนตร์คอมพิวเตอร์กราฟิกออกมาอีกหลายเรื่อง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น